Last updated: 21 ก.ค. 2564 | 3025 จำนวนผู้เข้าชม |
พระอาจารย์ สุรพจน์ สัทธาธิโก ::
ทีนี้เรามาลองสังเกตดู .. ตัวเราเองเป็นยังไง มีความหงุดหงิดมั้ย หงุดหงิดอยู่ หงุดหงิดดีมั้ย ไม่ดี แต่ทำไมยังชอบหงุดหงิด สังเกตมั้ย โกรธดีมั้ย? ไม่ดี .. แต่ทำไมยังชอบโกรธ แปลกมั้ย สังเกตมั้ยว่า ไม่ดีๆ แต่เรายังชอบหงุดหงิดอยู่ ชอบโกรธอยู่ เหมือนกับบอกว่า ร้านนี้ไม่ดีเลย ร้านนี้ไม่ดี แต่เดินเข้าไปทุกวัน มันหมายความว่ายังไง...
แสดงว่า.. มันต้องมีอะไรดีสักอย่างหนึ่ง ในภาพลักษณ์อาจจะไม่ดี แต่มันต้องมีอะไรดีในความรู้สึกของเรา มันต้องให้อะไรในความรู้สึกของเรา
เหมือนกระดาษแผ่นหนึ่งที่ทุกคนทิ้งไปแล้ว แต่เรายังเก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้ คนอื่นเป็นแค่ขยะ แต่เราเก็บไว้อย่างดี แสดงว่ามันมีความหมายในความรู้สึกของเรา อาจจะมีตัวหนังสือ มีคำพูดที่เราพอใจ เกี่ยวข้องกับเรา
เห็นมั้ยว่า มันต้องมีข้อดีอะไรที่จิตมันวิ่งไปหาข้อดีนั้น มันเลยดึงเอาไว้ เก็บเอาไว้ ถ้าเกิดเป็นแค่ความโกรธเฉยๆ เราไม่เก็บไว้ เหมือนเรามีลิ้นชัก แล้วเราจะเก็บสิ่งสกปรกไว้ในลิ้นชัก เป็นไปได้มั้ย บอกว่าสกปรก ขยะทั้งนั้น แล้วเก็บไว้ มันเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็เห็นข้อดีว่า อันนี้ใช้ได้ อันนี้ดีมีประโยชน์ ทั้งที่คนอื่นเห็นจะทิ้งแล้ว แต่เราเห็นว่ามีประโยชน์ เราเลยเก็บสิ่งนั้นไว้ แต่คนอื่นบอกว่าขยะเต็มไปหมดเห็นมั้ยว่ามันมองคนละอย่างกัน เราเห็นข้อดีของมันอยู่ เราเลยไม่ทิ้งมันไป
เช่นเดียวกับความโกรธ ความหงุดหงิด ถ้ามันไม่ดีจริงๆ เราทิ้งมันไปแล้ว แต่ว่ามันให้อะไรแก่เรา ให้สังเกต คราวนี้เราลองดูตัวอย่าง อย่างนี้เหมือนกับว่า เราจะดุเด็ก ดุคนงานหรือใครก็ตาม ถ้าสมมติเราพูดดุเขาไปปุ้ป เขาฟัง..โอเคก็จบ
แต่บางครั้งมีมั้ยที่เริ่มไม่ฟัง พูดแล้วไม่ฟังมีมั้ย? มี.. พอ..มี.. สังเกตมั้ย? ถ้าเกิดเราแสดงอาการหงุดหงิด บางทีฟังง่ายขึ้น คราวนี้ปุ้ป! มันก็จำเอาไว้ พอจำเอาไว้เสร็จ คราวหลังเขาไม่ฟัง มันก็วิ่งเข้าไปในความรู้สึกที่หงุดหงิดนั้นอีก เพื่ออะไร
จริงๆเราไม่ต้องการหงุดหงิด แต่มันได้ผล คือเขายอมฟัง ดังนั้นพอไม่ฟัง มันก็แสดงอาการหงุดหงิดมากขึ้น หงุดหงิดมากขึ้น แสดงออกทางร่างกายมากขึ้น แล้วเขาก็ยอม เฮ้ยๆ หัวหน้าหงุดหงิดแล้ว แม่หงุดหงิดแล้ว อย่าทำให้หงุดหงิดดีกว่า
เห็นมั้ยว่า เราไม่เชิงจะชอบในความรู้สึกหงุดหงิด แต่มันได้ผลที่เราต้องการคือ .. เขายอมฟัง .. มันเลยวิ่งเข้าไปหาความหงุดหงิด ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่ไม่สบาย แต่มันได้ผล เป็นสิ่งที่เราพอใจ คราวนี้ถ้าเกิดหงุดหงิดแล้ว ไม่ฟัง มันก็ค่อยๆเริ่มแรงขึ้น กลายเป็นความโกรธ หงุดหงิดไม่พอ พอโกรธยอมฟัง อุ้ย..แม่โกรธแล้ว
หัวหน้าโกรธแล้ว พี่เขาโกรธแล้ว พอโกรธแล้วยอมฟัง คราวนี้โกรธมันก็แรงขึ้น เผารนตัวเองมากขึ้น ต้องการมั้ย ไม่ต้องการ แต่มันได้ผลที่พอใจ คือเขายอมฟัง สั่งบอกว่าอย่าไป แล้วก็ยอม ไม่ไป แต่ถ้าดีๆ ไม่ฟัง พอโกรธแล้ว เฮ้ย เอาจริงแล้ว แสดงว่าเอาจริงแล้ว ยอมฟัง.. บอกทำไมต้องให้แม่โกรธด้วยนะ ทำไมต้องให้โมโห ทำไมต้องให้หงุดหงิดอยู่เรื่อยนะถึงจะยอมฟัง
.. คนที่พูดก็ไม่ได้ต้องการจะหงุดหงิดหรือโกรธ เพราะว่าความโกรธ โทษมันมาก ถึงมันจะคลายเร็ว แต่มันหมดแรง มันไม่สบาย
คราวนี้ถ้าเกิดเราไปอยู่ในความรู้สึกหงุดหงิดหรือโกรธมากขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดมันก็กลายเป็นความเครียด มาทำลายร่างกาย ถึงจะได้ผลที่น่าพอใจ แต่คนหลายๆคนก็วิ่งเข้าไปหาผลที่ได้จากตรงนี้มากมาย คือ ใช้ฤทธิ์ ใช้เดช ใช้อำนาจ ในความโกรธ ความหงุดหงิดนี่ จัดการซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเล็กหรือโต ครอบครัวหรือคนทั้งประเทศ หรือในโลก เราใช้หลักการนี้ทั้งนั้น เพื่อให้ได้ผลที่เกิดขึ้น
.. แต่ที่สุดแล้ว สิ่งนี้ความโกรธมันทำร้ายตัวมันเอง คือคนที่ใช้ความโกรธ มันก็ทำลายตัวเอง หลายๆคนเลยอยากจะหนี แต่หนีไม่ได้ ที่หนีไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันยังได้ผลที่น่าพอใจอยู่ มันเลยทิ้งไม่ได้ ให้สังเกตตรงนี้ ..เหมือนขยะที่มันทิ้งไม่ได้ เพราะมันมีข้อความที่ถูกใจอยู่ เหมือนร้านที่ดูแล้วไม่น่าจะเข้าเลย ใช้ไม่ได้ แต่เรายังเข้าไปบ่อยๆ เพราะมันกำลังให้สิ่งที่เราต้องการ คือสิ่งที่เราพอใจ คือความสำเร็จนั่นเอง
แต่พระพุทธองค์ไม่ได้แนะนำอย่างนั้น บอกว่า ชนะคนโกรธ ต้องด้วยความไม่โกรธ เราชนะด้วยเมตตาซะ คราวนี้การที่เราเรียนรู้ว่ากระแสถึงกัน เราต้องให้หัดส่งกระแส ทุกคนต้องเรียนรู้และหัดส่งกระแส
เราจะได้เข้าใจกระบวนการทั้งหมดว่า พอกระแสถึงซึ่งกันและกัน ถ้าเราใช้ความโกรธไปกระแทกเขา มันก็เหมือนข่มจิตเขา แต่เราไม่สบาย แต่ถ้าเราใช้กระแสเมตตา รู้สึกว่าฟังแล้วสบายใจ รื่นหู เป็นถ้อยคำที่หวังดี เป็นประโยชน์ คือทีแรกอาจจะไม่เข้าใจ แต่ระยะยาวนี่มันจะได้ผลที่ลึกซึ้งและมั่นคง ที่สำคัญคือ เราไม่ทำร้ายตัวเอง
ประโยชน์คนอื่นแม้จะมาก แต่ต้องอย่าละเลยประโยชน์ตนเอง คือเราต้องรักษาตนเองด้วย และทำประโยชน์ผู้อื่นด้วย ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ พูดอย่ากังวลว่าจะให้วันนี้ต้องเข้าใจ เราพูดไปเรื่อยๆ วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ แต่เราใช้กระแสของเมตตาไป
คราวนี้คนเราพอมีความทุกข์ มันก็จะวิ่งเข้ามาหาเอง เหมือนคนร้อนก็วิ่งเข้าหาที่เย็น คราวนี้เขาเดือดร้อน มีความทุกข์จากตรงอื่น เขาก็นึกถึงกระแสของเมตตา เขาก็วิ่งเข้ามาหา เพราะอะไร.. เพราะตรงนี้ให้ผลที่ต้องการคือความรู้สึกที่มีความสุข .. เขาเกิดร้อนอยู่ ทุกข์อยู่กับตรงไหนก็ตาม เขาก็จะวิ่งกลับมาหาที่เย็นซึ่งเป็นกระแสเมตตา คราวนี้เราจะได้บอกวิธี แนะนำวิธีที่ยั่งยืนและมั่นคง
พอเขาได้เหมือนลิ้มชิมรสแห่งความสุข การใช้งานที่ดี คุยกับแม่ใช้แผ่เมตตาก็ได้ คุยกับลูกนี่แผ่เมตตาก็ได้ ถึงไม่ต้องคุย ใช้แผ่เมตตา เราก็รู้สึกดี เป็นห่วงลูกไม่ต้องว่าก็ได้ ใช้แผ่เมตตาก็ได้ มันก็รู้สึกว่ามันมีทางออก
... เป็นห่วงลูกก็พระคุ้มครองรักษานะ ให้ปลอดภัยนะ ให้ลูกเป็นสุข มันรู้สึกว่า เราสามารถใช้ความรู้สึกดีๆนี้ นึกถึงพ่อก็สบาย นึกถึงแม่ก็สบาย ลูกกลับมาก็รู้สึกว่าสบาย เหมือนกับว่ามันง่าย มันมีทางออกที่ดีทั้งสองฝ่าย
นี่เรียกว่าพระพุทธองค์ ชี้ขุมอริยทรัพย์ให้เท่านั้นเอง ชี้ทางออกที่ปลอดภัยให้แก่ทุกๆคนแค่นั้นเอง
29 พ.ค. 2567
29 พ.ค. 2567
1 มิ.ย. 2567
29 พ.ค. 2567