เอปิง

เอปิง

ผู้เยี่ยมชม

  กราบถามพระอาจารย์ครัย (4035 อ่าน)

6 ก.พ. 2561 06:36

กราบสวัสดีครับพระอาจารย์ครับ ก่อนอื่นผมดีใจที่ผมยังคงมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเดินทางในแนวทางดูจิตต่อไป และพยายามสอนคนที่ผมรักให้เดินทางไปกับผมด้วย... ผมมีเรื่องจะเรียนถามดังนี้ครับ

1ถ้าเรามีเรื่องกลุ้มใจในเรื่องศีล5 ที่บกพร่อง บางทีมันจำเป็นและเผลอพลาด ผมควรจะทำอย่างไร

2 ในอริยาบทเดิน การเคลื่อนไหวต่างๆ บางทีผมวางจิตไปที่ฐานกลางหน้าอกได้ยากกว่าอีก ยืน นั่ง นอน บางทีมันจึงกลายเป็นการเพ่งไปเลย ที่พระอาจารย์บอกให้ประคองจิตไว้ หมายถึงแค่รู้สึกไปเรื่อยๆ เผลอไปคิดก้อรู้สึกอย่างเดิยว ไม่ต้องสนใจอะไรใช่ไหมครับ

3 ความโกรธมาเยอะมากๆ บางทีคุมได้บางทีไม่ได้ บางทีก้อท้อจนเคยตั้งคำถามในใจว่าถูกทางไหม และคำตอบคือ ผมสามารถปล่อยวางเรื่องอื่นได้นี่หน่า โดยที่มันค่อยๆปล่อยทีละนิดๆ ไอ้ความโกรธมันคือของหนัก ต้องค่อยๆ ผมคิดถูกหรือไม่ครัย

ขอขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เป็นกัลยณมิตรตลอดมาครับ

เอปิง

เอปิง

ผู้เยี่ยมชม

Admin

Admin

ผู้ดูแล

9 ก.พ. 2561 09:09 #1

เหตุภายนอกทางกาย วาจา อาจจะเผลอไปบ้าง แต่เจตนาเป็นตัวกรรม


ศีลจะบริสุทธิ์ สำคัญที่เจตนา ผู้ตามรักษาจิต กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็เป็นอันรักษา


เราจะเจริญอริยมรรค ศีลจะรักษาเอง เพราะมีปัญญาส่องสว่าง และเมตตาจากภายใน เหตุภายนอกมันจะปรับไปด้วยตัวมันเอง

2. ในอิริยาบถเดินเคลื่อนไหว เราวางจิตไว้ที่กลางหน้าอก พอรู้สึกเพ่งมากเกินไป เราก็ถอยออกมารู้สึกที่ร่างกายนุ่มนวลเบาๆ แล้วกระแสก็จะเชื่อมโยงถึงจิต แต่นุ่มนวลขึ้น.

และสังเกตถ้ามารู้สึกที่ร่างกายแล้ว แต่กระแสที่จิตกลางหน้าอกยังแน่นอยู่ แสดงว่า เราเพ่งความรู้สึกที่ร่างกายแรงไป ลดลงมาให้นุ่มนวลเบาๆ จนรู้สึกที่จิตสบายๆ

และจะสังเกตเวลาเคลื่อนไหวร่างข้างนอก ข้างในที่จิตจะรู้สึกถึงกระแสการเคลื่อนไหวไปพร้อมกันเรียกว่าเห็นกายในกาย


3. ความโกรธเยอะมาก มันเป็นผลที่เกิดขึ้น ให้สังเกตเวลาโกรธ ข้างในตั้งเงื่อนไขในเรื่องนั้นอย่างไร เราจะเห็นต้นเหตุ และปล่อยต้นเหตุนั้น


ถ้ายังปล่อยไม่ได้แสดงว่ายังเห็นข้อดี ของมันอยู่



3.1เช่น เราต้องการเงียบ พอมีคนเสียงดัง เราจะรู้สึกไม่ชอบ หงุดหงิด รำคาญ.

และพอเราพูดให้เขาเงียบ มันเลยจะพูดจากความ หงุดหงิด รำคาญ.

และถ้าเกิดเหตุซ้ำอีก มันก็จะแรงขึ้น เพราะเราย้ำความต้องการที่เราต้องการเงียบๆ มันจะหงุดหงิดแรงขึ้น เร็วขึ้น จนเป็นความโกรธ


และจะเริ่มโกรธง่ายและโกรธเร็ว เป็นปกติ


3.2 พอเราจะปล่อย .. ไม่ต้องการโกรธ พยายามยอมๆไป แต่เราก็ปล่อยไม่ได้ มันก็ยังขึ้นมาอีก เพราะต้นเหตุ ข้างในมันยังตั้งเงื่อนไขว่าต้องการเงียบ ต้องการสงบอยู่

มันจึงต่อต้านเสียงและต่อต้านสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สงบ จึงมีความกลัวลึกๆที่จะได้ยิน อึดอัดรำคาญที่ต้องเจอสภาพที่เกิดขึ้น

เพราะพอเจอแล้วอดโมโหไม่ได้ และเราก็ไม่ต้องการเป็นอย่างนั้น พอชนะมันไม่ได้คุมตัวเองไม่ได้ มันก็โกรธ

เราก็กลัวที่จะโกรธ จึงสงสัยทำไมกระวนกระวายไม่สงบ
เพราะเราย้ำความต้องการ จนกลายเป็นความยึดมั่น ว่าเราต้องการเงียบ หรือเราต้องการสงบๆ

3.3 ดังนั้น

1.สูดหายใจยาวๆเหมือนเราไปพักผ่อนทะเล ภูเขา ผ่อนความรู้สึกสบายๆลงมาที่จิตเบาๆแล้วแผ่เมตตานุ่มนวลเบาๆที่จิต" ให้มีความสุข"

ในทุกๆเหตุการณ์ และควรแผ่เมตตาให้เป็นปรกติไม่ต้องรอให้โกรธก่อน จะช่วยให้จิตตั้งมั่นได้รวดเร็วขึ้น


2. ไม่ต้องหลบ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ความโกรธให้รู้ว่าเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลที่แสดงให้เราติดตามไปเจอต้นเหตุแห่งทุกข์

แล้วปล่อยเงื่อนไขที่เราตั้งไว้และยึดไว้โดยไม่รู้ตัว.

และเห็นต่อไปว่า ที่มันยังมีความโกรธอยู่ลึกปล่อยไม่ได้ แสดงว่ายังเห็นข้อดี ของเงื่อนไขอยู่


3.4 ถ้าตั้งเงื่อนไขเรื่องใดก็ทุกข์ เพราะเรื่องนั้นเพราะไปยึดมั่นจะให้เป็นดั่งใจ

แต่พอปล่อยเงื่อนไขที่ต้องการออกไป ภายในจะอยู่กับความผ่องใสของจิต

จะมีปัญญาเห็นเรื่องราวชัดเจนตามจริง.

ถ้าต้องบอกใครก็ไม่บอกด้วยความโกรธว่าทำไมไม่เข้าใจสักที

แต่พูดแนะนำ

1. เรื่องจริง

2. มีประโยชน์

3 ดูจังหวะ

4 อ่อนโยนน่าฟัง

5 มีเมตตา


เราประคองจิต เดินทางสายกลาง.ไม่ติดที่สุดทั้ง 2 ข้าง ดับที่ต้นเหตุภายใน. ไม่ติดทั้งสงบ และไม่สงบ

เจริญในธรรม

-----------------------

พระอาจารย์สุรพจน์ สัทธาธิโก







พระอาจารย์สุรพจน์ สัทธาธิโก

Admin

Admin

ผู้ดูแล

เอปิง

เอปิง

ผู้เยี่ยมชม

9 ก.พ. 2561 20:22 #2

สาธุครับพระอาจารย์

เอปิง

เอปิง

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้